วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30 

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

    วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีของแต่ละกลุ่ม เช่น


อันนี้กลุ่มของดิฉันค่ะ ชื่อสื่อ จำนวนนับ

วิธีการเล่น : ติดตัวเลขให้เด็กดูในช่องด้านซ้ายและให้เด็กติดตัวการ์ตูนในช่องด้านขวาให้เท่ากับจำนวนตัวเลขที่ติดให้ดู ก่อนเล่นอาจจะสอนเด็กนับจำนวนเลขก่อนเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับจำนวนนับ ค่ะ

ประโชน์ของสื่อ : 1. ช่วยเรื่องการนับจำนวนตัวเลขเด็กได้
2.เพื่อฝึกทักษะในด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
3.ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีต่อคณิตศาสตร์ได้


สื่อที่ดิฉันชื่นชอบ ได้แก่ "พีชคณิต ปู๊น..ปู๊น"


เหตุผลที่ชอบ : เพราะว่าเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องของพีชคณิต ในการดูรูปแบบแล้วต่อตามรูปแบบให้เหมือนกัน เด็กจะได้ใช้ความคิดและการฝึกการสังเกต ได้ค่ะ สื่อชิ้นนี้อาจจะยากไปหน่อยสำหรับเด็กปฐมวัยแต่ถ้าเราสอนและฝึกให้เด็กได้เล่นบ่อยๆ เด็กจะเกิดกาเรียนรู้และทำได้ในเวลาต่อมา


สื่อต่างๆที่เพื่อนในห้องออกมานำเสนอ เช่น
- ตามหาคู่แท้           
- นับเลขซูซิ          
- วงล้อมหาสนุก          
- ฝาแฝด           
- รูปทรงหรรษา
- กระถางลูกโป่ง       
- เด็กน้อยนับเลข    
- ถาดไข่มหัศจรรย์      
- คิดสนุก           
- ลูกเต๋าสารพัดหน้า
-  ฝาบอกจำนวน      
- ขวดสีหรรษา      
- 2 in 1                           
- ตาชั่งคณิตศาสตร์หรรษา
เป็นต้น

บรรยากาศ การนำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม











การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำสื่อต่างๆไปประกอบการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยได้
2. สามารถนำสื่อต่างๆไปฝึกทักษะความรู้ ด้านคณิตศาสตร์ได้
3. สามารถนำสื่อมาประยุกต์ให้เข้ากับการสอนเรื่องคณิตศาสตร์ได้


วันนี้เป็นวันปิดคอรส์การเรียนการสอนในวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดิฉันได้แต้ม สูงสุดในห้องกับเพื่อนอีก 2 คน อาจารย์เลยแจกที่เจาะกระดาษลายต่างๆเป็นรางวัล ค่ะ


ขอบคุณมาก ค่ะ แล้วเจอกันในเทอมหน้านะค่ะ ....







ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

   วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เขียนแผนการสอนเกี่ยวกับ การสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอ้างอิงจากกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย 
   กลุ่มของดิฉันเขียน เรื่อง การวัดความยาว คือ ให้เด็กใช้สิ่งของในห้องเรียนมาเป็นหน่วยในการวัด เช่น ใช้กระเป๋าวัดกระดาน แล้วให้เด็กตอบว่ากระดานยาวเท่าไหร่ ตามแผนการสอน แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน


เพื่อนกำลังนั่งเขียนแผนการสอน



แผนการสอนของกลุ่มดิฉันค่ะ


การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำเทคนิคมในการเขียนแผนการสอนไปใช้เขียนแผนในอนาคตได้
2. สามารถนำแผนการสอนของเพื่อนๆทุกกลุ่มมาดัดแปลงไปใช้ได้ในอนาคต
3. สามารถนำรูปแบบในการเขียนแผนการสอนไปประยุกต์ให้เข้ากับเรื่องที่เราจะสอนเด็กได้





ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวฃาเข้าสอน 14.10 เวฃาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

   วันนี้อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเพื่อทำสื่อคณิตศาสตร์ โดยอาจารย์ได้ให้ทำสื่อคณิตสตร์ 2 ชิ้นด้วยกัน 
ชิ้นที่ 1 อาจารย์ให้ทำเรื่องความน่าจะเป็นโดยทำเป็นแผนภูมิ



กลุ่มดิฉันได้ทำเกี่ยวกับแผนภูมิวงกลม
เรื่อง การเปรียบเทียบความเหมือน-แตกต่าง ระหว่าง จักรยาน กับ มอเตอร์ไซต์





ชื้นที่ 2 เรื่องพีชคณิตและจำนวนนับ อาจารย์ให้ออกแบบสื่อที่เกี่ยวกับพีชคณิต มากลุ่มละ 1 ชิ้น




กลุ่มดิฉันทำเกี่ยวกับขบวนรถไฟที่มีทั้งรูป สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลมและข้างในรูปนั้นเป็นตัวเลขเพื่อให้เด็กได้นับด้วยค่ะ

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำเรื่องของแผนภูมิวงกลมไปทำกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในการฝึกสอนได้
2. สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้
3. สามารถนำความรู้เรื่อง พีชคณิตไปใช้ทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยในอนาคต





วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

     วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ กรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย ว่าเด็กปฐมวัยนั้นเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง  เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์

สาระมาตราฐานการเรียนรู้ 
- จำนวนและการดำเนินการ
- การวัด
- เรขาคณิต
- พีชคณิต
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น
- จำนวนนับ 1-20 (*ขั้นต่ำ)
- เข้าใจหลักของการนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
- การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา ตัวอย่างเช่น
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร


3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต ตัวอย่างเช่น
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง (*ยากสำหรับเด็กปฐมวัย)
- รูปเรขาคณิต 3 มิติ และรูปเรขาคณิต 2 มิติ

4. มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบ 
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระและมาตราฐานการเรียนรู้ (กระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นผู้กำหนดไว้)
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน เช่น
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม 
*ความหมายของการรวมกลุ่ม เช่น
- การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
*ความหมายของการแยกกลุ่ม เช่น
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10


สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 คำที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 จำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต
*รูปเรขาคณิตมีทั้ง 3 มิติ และ 2 มิติ (แบบ2มิติเป็นรูปที่จับต้องไม่ได้)
*เด็กปฐมวัยเริ่มเรียนรู้จากรูปเรขาคณิตแบบ 3 มิติ เพราะ ง่ายและจับต้องได้ เด็กอนุบาล 1 จะเริ่มจาก 3 มิติก่อน เช่น บล็อกไม้


สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น


ความสัมพันธ์ของสี

*ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างสามารถใช้อย่างอื่นได้

สาระที่ 5 : การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมุลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และนำเสนอในรูปแบบของแผนภูมิอย่างง่าย ตัวอย่างเช่น


**แผนคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเน้นมาก เพราะมันไม่จำค่อยสำคัญแต่เด็กควรต้องรู้ไว้

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำไปประยุกต์สอนเด็กปฐมวัยได้
2. สามารถนำไปเป็นแนวการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้






วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็หปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

    วันนี้อาจารย์ให้ทำสื่อคนละ 1 ชิ้น โดยสื่อชิ้นนี้อาจารย์มีรูปเรขาคณิตมาให้ คือ รูป วงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม ให้แต่ละคนเลือกว่าจะใช้รูปอะไรมาทำสื่อ พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ


สื่อของดิฉันที่ทำเสร็จแล้วค่ะ 

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำไปเป็นสื่อให้เด็กได้ทำในการฝึกสอนได้
2. สามารถสอนให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของรูปเรขาคณิตได้