วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

     วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ กรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย ว่าเด็กปฐมวัยนั้นเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง  เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์

สาระมาตราฐานการเรียนรู้ 
- จำนวนและการดำเนินการ
- การวัด
- เรขาคณิต
- พีชคณิต
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น
- จำนวนนับ 1-20 (*ขั้นต่ำ)
- เข้าใจหลักของการนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
- การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา ตัวอย่างเช่น
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร


3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต ตัวอย่างเช่น
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง (*ยากสำหรับเด็กปฐมวัย)
- รูปเรขาคณิต 3 มิติ และรูปเรขาคณิต 2 มิติ

4. มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบ 
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระและมาตราฐานการเรียนรู้ (กระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นผู้กำหนดไว้)
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน เช่น
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม 
*ความหมายของการรวมกลุ่ม เช่น
- การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
*ความหมายของการแยกกลุ่ม เช่น
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10


สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 คำที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 จำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต
*รูปเรขาคณิตมีทั้ง 3 มิติ และ 2 มิติ (แบบ2มิติเป็นรูปที่จับต้องไม่ได้)
*เด็กปฐมวัยเริ่มเรียนรู้จากรูปเรขาคณิตแบบ 3 มิติ เพราะ ง่ายและจับต้องได้ เด็กอนุบาล 1 จะเริ่มจาก 3 มิติก่อน เช่น บล็อกไม้


สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น


ความสัมพันธ์ของสี

*ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างสามารถใช้อย่างอื่นได้

สาระที่ 5 : การวิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมุลที่เกี่ยวข้องกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และนำเสนอในรูปแบบของแผนภูมิอย่างง่าย ตัวอย่างเช่น


**แผนคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเน้นมาก เพราะมันไม่จำค่อยสำคัญแต่เด็กควรต้องรู้ไว้

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำไปประยุกต์สอนเด็กปฐมวัยได้
2. สามารถนำไปเป็นแนวการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น