วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...

วันนี้อาจารย์ให้เแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน กลุ่มของดิฉันเป็นกลุ่มที่ 1 ได้นำเสนอ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
   ซึ่งเด็กอายุ 3 ปี สามารถนับปากเปล่า 1-5 ได้  อ่านตัวเลขฮินดูอารบิก 1-5 บอกจำนวนสิ่งต่างๆได้ไม่เกิน 5 สิ่งโดยการนับ เป็นต้น
   ส่วนเด็กอายุ 4 ปี สามารถนับปากเปล่าเพิ่มจาก 1-5 เป็น 1-10 ได้ และสามารถเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของต่างๆ 2 กลุ่ม โดยแต่ได้กลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 10
   และเด็กอายุ 5 ปี สามารถนับปากเปล่า 1-20 ได้  อ่านและเขียนเลยฮินดูอารบิก 1-20 ได้



ภาพกลุ่มดิฉันขณะพรีเซ็นต์งาน

กลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่อง การวัด  เด็กสามารถบอก ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน หรือเวลาได้
ตัวอย่างเช่น



การวัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆรอบตัวได้ 

กลุ่มที่ 3 นำเสนอ เรื่อง เรขาคณิต เด็กสามารถบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิต 3 มิติ และ รูปเรขาคณิต 2 มิติ ได้



ภาพเพื่อนๆของกลุ่ม 3 ได้ทำรูปเรขาคณิตให้ดูประกอบการนำเสนอ

กลุ่มที่ 4 นำเสนอ เรื่อง พีชคณิต เด็กสามารถเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ได้ เช่น การต่อแบบรูปให้เข้าชุดกับแบบรูปที่กำหนดให้


กลุ่มที่ 5 นำเสนอ เรื่อง วิเคาระห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น เด็กสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและลิ่งแวดล้อมมานำเสนอได้
ตัวอย่างเช่น




ใส่ลูกปิงปองสีส้มและสีขาวจำนวนไม่ต้องเท่ากัน แล้วให้เด็กสุ่มหยิบขึ้นมา 2 ลูกอาจจะได้สีที่เหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ได้

การนำความรู้ไปใช้ ... 

1. สามารถนำข้อมูลที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอไปประยุกต์ใช้ได้
2. สามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนยกตัวอย่างประกอบการนำเสนอไปต่อยอดเพื่อนใช้สอนเด็กได้

**ถ้าอยากรู้เนื้อหาเพิ่มเติมไปหาได้ที่ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย





วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...

อาจารย์สอน เรื่อง จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย
- เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เช่น รู้เกี่ยวกับคำศัพท์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
- เพื่อให้รู้จักการใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้ฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ
** เพื่อให้เด็กมีการค้นคว้าหาคำตอบเอง ครูไม่ควรเฉลยคำตอบให้เด็กรู้ก่อน

อาจารย์ยังได้สอนเกี่ยวกับ เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. การสังเกต ( Observation) คือ การใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ (สัมผัสจากของจริง) โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงอย่างมีจุดหมาย

ตัวอย่างเช่น


การสังเกตจุดดังภาพแล้วแยกออกมาแต่ละจุด แยกออกมาได้หลายแบบเลย

2. การจำแนกประเภท (Classifying) คือ การแบ่งแยกสิ่งของด้วยใช้เกณฑ์ การใช้เกณฑ์ก็จะมี ความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์

ตัวอย่างเช่น


การจำแนกในการแบ่งประเภทของสิ่งของ

3. การเปรียบเทียบ (Comparing) คือ การที่เด็กจะต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เด็กต้องเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งๆนั้น และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใข้ด้วย

ตัวอย่างเช่น


การเปรียบเทียบขนาด ระหว่างกระต่ายตัวเล็ก กับ ช้างตัวใหญ่

4. การจัดลำดับ (Ordering ) คือ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป  เป็นการจัดลำดับวัตถุ หรือ เหตุการณ์

ตัวอย่างเช่น


การจัดลำดับของสิ่งของจากใหญ่ไปเล็ก หรือ จัดลำดับเหตุการณ์จากเมล็ดไปเป็นต้นกล้า

5. การวัด (Measurement ) จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษณ์ ส่วนมากการวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง
**การวัดของเด็กปฐมวัย ไม่ใช่หน่วยวัดมาตราฐานในการวัด แต่จะใช้การเปรียบเทียบเป็นตัววัดแทน

ตัวอย่างเช่น


ภาพนี้ คือการวัดความยาวระหว่าง เชือก 2 เส้น ว่าเส้นไหนยาวกว่ากั


ภาพนี้ คือ การวัดหาส่วนสูงของเด็กผู้ชายโดยใช้ตุ๊กตาเป็นตัววัด ก็จะได้ว่าเด็กผู้ชายคนนี้สูงเท่ากับตุ๊กตา 3 ตัว

6. การนับ (Counting) คือ เด็กจะชอบนับแบบท่องจำโดยไม่รู้ความหมาย การนับแบบท่องจำจะมีความหมาย ก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น นับเพื่อนที่มาเรียน หรือ นับการมาเรียนในตัวเองต่อสัปดาห์

ตัวอย่างเช่น


ภาพนี้ให้เด็กดูรูปปู แล้วให้เด็กลองนับเกี่ยวกับลักษณะของปู

7. รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size ) เด็กส่วนมากเข้าใจอยู่แล้ว (ไม่ค่อยมีปัญหา ) เพราะ เด็กเข้าใจในเรื่องรูปทรงและขนาด ก่อนเข้า ร.ร. อยู่แล้ว

** ในภาพแค่ 1 ภาพ อาจจะสามารถสะท้อนได้ทั้ง 7 ทักษะเลยก็ได้

ตัวอย่าง


คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิศาสตร์ที่เด็กควรรู้

กิจกรรมท้ายชั่่วโมง : อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น และให้วาดรูปวงกลมไม่ใหญ่มากนักให้อยู่กึ่งกลางกระดาษ และอาจารย์ได้ให้เขียนเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม จากนั้นอาจารย์ให้เติมกลีบดอกไม้ให้เท่ากับจำนวนเลขที่ตัวเองได้เขียนไว้ในวงกลมค่ะ


ดิฉันเขียนเลข 9 ค่ะ เลยต้องทำกลีบดอกไม้ทั้งหมด 9 กลีบ

การนำความรู้ไปใช้ ...

1. สามารถสอนเด็กเกี่ยวกับการนับเลขได้
2. สามารถนำไปใช้ฝึกเด็กเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ได้
3. สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ ไปให้เด็กได้ทำได้



วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสคร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกสอน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ... 

วันนี้อาจารย์ได้สอน เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเป็นระบบการคิดที่ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษ์ พูด และเขียน เพื่อความเข้าใจในตัวเลข จำนวน และการคิดคำนวณต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผลและสร้างสรรค์ด้วย
   - ความสำคัญ คือ 1. เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน  2. ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา (ใช้เพื่อหาเหตุผล)  3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล  4. เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาต่างๆ โดยเฉพาะ วิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของ Piaget ประกอบไปด้วย 
1. ขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นที่พัฒนาด้านประสาทสัมผัส สามารถจำสิ่งต่างๆได้ บอกลักษณะของวัตถุได้ เช่น รูปทรง (อายุ 0-2 ปี)
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล เป็นการใช้ภาษาแสดงความคิดเห็น รู้คำที่สามารถบอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาวได้ สามารถเล่นบทบาทสมมุติที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจที่เป็นนามธรรมได้ เช่น จำนวน ตำเลข และตัวอักษร (อายุ 2-7ปี)  ** เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด และเด็กในวัยนี้จะตัดสินจาดสิ่งที่ตนเองเห็น

ตัวอย่างเช่น

มีน้ำในแก้วอยู่ 2 ใบ แล้วให้เด็กดูว่าน้ำในแก้ว 2 ใบนี้เท่ากันไหม เด็กดูแล้วตอบว่า  เท่ากัน  


และเมื่อเทน้ำจากแก้วที่ 2 ไปใส่ในแก้วที่ 3 ซึ่งมีรูปทรงสูงกว่าแก้วที่ 2 ให้เด็กดูแล้วตอบใหม่ เด็กจะตอบว่า แก้วใบที่ 3 มีน้ำมากกว่าแก้วใบที่ 2 


จากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ (Conservation) หมายถึง การสะสมความคิดเดิม
การอนุรักษ์สามารถพัฒนาได้โดย
  - การนับ
  - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
  - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
  - การเรียงลำดับ
  - การจัดกลุ่ม

หลังจากที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การอนุรักษ์แล้ว ให้ย้อนกลับไปดูตัวอย่างเดิม เด็กที่เรียนการอนุรักษ์มาแล้วก็จะพิสูจน์ หรือ ทดลอง โดยการนำแก้วที่เท่ากัน มาเทน้ำจากใบที่ 3 เด็กก็จะรู้ว่าน้ำเท่ากัน

จากนั้น เราก็เรียน เรื่อง หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย
- เปิดโอกาศให้เด็กได้พูดคุย ผ่านวัสดุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่านการเล่น และกิจกรรมที่มีการให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ
- ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจ
- ใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก
- เชื่องโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

** เด็กสามารถซึมซาบทักษะทางคณิตศาสตร์ผ่านการเล่น โดยที่เด็กไม่รู้ตัว

กิจกรรมระหว่างเรียน

อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะ พอทุกคนวาดเสร็จอาจารย์บอกว่าให้ใส่รองเท้าให้สัตว์ที่ตัวเองวาดด้วย ดีนะที่ดิฉันวาด  ปู มีแค่ 8 ขา




ผลงานของเพื่อนทั้งห้อง กับสัตว์ที่มีขาเยอะ 

สิ่งที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้  คือ ได้นับเลข จากการนับจำนวนขาของสัตว์ที่ตนเองวาด  ได้รู้จำนวนของตัวเลข  ได้รู้เรื่องรูปทรงของเรขาคณิต

การนำไปประยุกต์ใช้ ...

1. สามารถนำเรื่องของการอนุรักษ์ไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต
2. สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำไปให้เด็กไปลองทำได้
3. สามารถสอนเรื่องการจับคู่ขากับสัตว์ได้ 
4. สามารถสอนเรื่องการเรียงลำดับให้กับเด็กได้






ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกสอน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...

วันนี้อาจารย์ให้ทำ Mind Map เกี่ยวกับความรุ้เดิมในวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่ามีความรู้เดิมเป็นอย่างไรกันบ้างก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทเรียน


mind map ที่ดิฉันทำ

การนำความรู้ไปใช้ ...

1. สามารถนำคาวมรู้เดิมมาผสมผสานกับความรู้ใหม่ได้
2. สามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนในห้องเรียน เรื่องของ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม หรือผ่านการเล่นโดยเด็กไม่รู้ตัว ไปใช้ในอนาคตได้