วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกเรียน 17.30

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...

อาจารย์สอน เรื่อง จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย
- เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เช่น รู้เกี่ยวกับคำศัพท์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
- เพื่อให้รู้จักการใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้ฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ
** เพื่อให้เด็กมีการค้นคว้าหาคำตอบเอง ครูไม่ควรเฉลยคำตอบให้เด็กรู้ก่อน

อาจารย์ยังได้สอนเกี่ยวกับ เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. การสังเกต ( Observation) คือ การใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ (สัมผัสจากของจริง) โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงอย่างมีจุดหมาย

ตัวอย่างเช่น


การสังเกตจุดดังภาพแล้วแยกออกมาแต่ละจุด แยกออกมาได้หลายแบบเลย

2. การจำแนกประเภท (Classifying) คือ การแบ่งแยกสิ่งของด้วยใช้เกณฑ์ การใช้เกณฑ์ก็จะมี ความเหมือน ความต่าง ความสัมพันธ์

ตัวอย่างเช่น


การจำแนกในการแบ่งประเภทของสิ่งของ

3. การเปรียบเทียบ (Comparing) คือ การที่เด็กจะต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เด็กต้องเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งๆนั้น และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใข้ด้วย

ตัวอย่างเช่น


การเปรียบเทียบขนาด ระหว่างกระต่ายตัวเล็ก กับ ช้างตัวใหญ่

4. การจัดลำดับ (Ordering ) คือ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป  เป็นการจัดลำดับวัตถุ หรือ เหตุการณ์

ตัวอย่างเช่น


การจัดลำดับของสิ่งของจากใหญ่ไปเล็ก หรือ จัดลำดับเหตุการณ์จากเมล็ดไปเป็นต้นกล้า

5. การวัด (Measurement ) จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษณ์ ส่วนมากการวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง
**การวัดของเด็กปฐมวัย ไม่ใช่หน่วยวัดมาตราฐานในการวัด แต่จะใช้การเปรียบเทียบเป็นตัววัดแทน

ตัวอย่างเช่น


ภาพนี้ คือการวัดความยาวระหว่าง เชือก 2 เส้น ว่าเส้นไหนยาวกว่ากั


ภาพนี้ คือ การวัดหาส่วนสูงของเด็กผู้ชายโดยใช้ตุ๊กตาเป็นตัววัด ก็จะได้ว่าเด็กผู้ชายคนนี้สูงเท่ากับตุ๊กตา 3 ตัว

6. การนับ (Counting) คือ เด็กจะชอบนับแบบท่องจำโดยไม่รู้ความหมาย การนับแบบท่องจำจะมีความหมาย ก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น นับเพื่อนที่มาเรียน หรือ นับการมาเรียนในตัวเองต่อสัปดาห์

ตัวอย่างเช่น


ภาพนี้ให้เด็กดูรูปปู แล้วให้เด็กลองนับเกี่ยวกับลักษณะของปู

7. รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size ) เด็กส่วนมากเข้าใจอยู่แล้ว (ไม่ค่อยมีปัญหา ) เพราะ เด็กเข้าใจในเรื่องรูปทรงและขนาด ก่อนเข้า ร.ร. อยู่แล้ว

** ในภาพแค่ 1 ภาพ อาจจะสามารถสะท้อนได้ทั้ง 7 ทักษะเลยก็ได้

ตัวอย่าง


คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิศาสตร์ที่เด็กควรรู้

กิจกรรมท้ายชั่่วโมง : อาจารย์แจกกระดาษให้คนละแผ่น และให้วาดรูปวงกลมไม่ใหญ่มากนักให้อยู่กึ่งกลางกระดาษ และอาจารย์ได้ให้เขียนเลขที่ตัวเองชอบลงในวงกลม จากนั้นอาจารย์ให้เติมกลีบดอกไม้ให้เท่ากับจำนวนเลขที่ตัวเองได้เขียนไว้ในวงกลมค่ะ


ดิฉันเขียนเลข 9 ค่ะ เลยต้องทำกลีบดอกไม้ทั้งหมด 9 กลีบ

การนำความรู้ไปใช้ ...

1. สามารถสอนเด็กเกี่ยวกับการนับเลขได้
2. สามารถนำไปใช้ฝึกเด็กเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ได้
3. สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ ไปให้เด็กได้ทำได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น