บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสคร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 14.10-17.30 กลุ่ม 102 ห้อง 432
เวลาเข้าสอน 14.10 เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกสอน 17.30
วันนี้อาจารย์ได้สอน เรื่องคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเป็นระบบการคิดที่ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษ์ พูด และเขียน เพื่อความเข้าใจในตัวเลข จำนวน และการคิดคำนวณต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผลและสร้างสรรค์ด้วย
- ความสำคัญ คือ 1. เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 2. ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา (ใช้เพื่อหาเหตุผล) 3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล 4. เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาต่างๆ โดยเฉพาะ วิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของ Piaget ประกอบไปด้วย
1. ขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นที่พัฒนาด้านประสาทสัมผัส สามารถจำสิ่งต่างๆได้ บอกลักษณะของวัตถุได้ เช่น รูปทรง (อายุ 0-2 ปี)
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล เป็นการใช้ภาษาแสดงความคิดเห็น รู้คำที่สามารถบอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาวได้ สามารถเล่นบทบาทสมมุติที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจที่เป็นนามธรรมได้ เช่น จำนวน ตำเลข และตัวอักษร (อายุ 2-7ปี) ** เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด และเด็กในวัยนี้จะตัดสินจาดสิ่งที่ตนเองเห็น
ตัวอย่างเช่น
มีน้ำในแก้วอยู่ 2 ใบ แล้วให้เด็กดูว่าน้ำในแก้ว 2 ใบนี้เท่ากันไหม เด็กดูแล้วตอบว่า เท่ากัน
และเมื่อเทน้ำจากแก้วที่ 2 ไปใส่ในแก้วที่ 3 ซึ่งมีรูปทรงสูงกว่าแก้วที่ 2 ให้เด็กดูแล้วตอบใหม่ เด็กจะตอบว่า แก้วใบที่ 3 มีน้ำมากกว่าแก้วใบที่ 2
จากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ (Conservation) หมายถึง การสะสมความคิดเดิม
การอนุรักษ์สามารถพัฒนาได้โดย
- การนับ
- การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
- การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
- การเรียงลำดับ
- การจัดกลุ่ม
หลังจากที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การอนุรักษ์แล้ว ให้ย้อนกลับไปดูตัวอย่างเดิม เด็กที่เรียนการอนุรักษ์มาแล้วก็จะพิสูจน์ หรือ ทดลอง โดยการนำแก้วที่เท่ากัน มาเทน้ำจากใบที่ 3 เด็กก็จะรู้ว่าน้ำเท่ากัน
จากนั้น เราก็เรียน เรื่อง หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย
- เปิดโอกาศให้เด็กได้พูดคุย ผ่านวัสดุและสื่ออุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์ผ่านการเล่น และกิจกรรมที่มีการให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติ
- ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสร้างความเข้าใจ
- ใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก
- เชื่องโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
** เด็กสามารถซึมซาบทักษะทางคณิตศาสตร์ผ่านการเล่น โดยที่เด็กไม่รู้ตัว
กิจกรรมระหว่างเรียน
อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะ พอทุกคนวาดเสร็จอาจารย์บอกว่าให้ใส่รองเท้าให้สัตว์ที่ตัวเองวาดด้วย ดีนะที่ดิฉันวาด ปู มีแค่ 8 ขา
ผลงานของเพื่อนทั้งห้อง กับสัตว์ที่มีขาเยอะ
สิ่งที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ คือ ได้นับเลข จากการนับจำนวนขาของสัตว์ที่ตนเองวาด ได้รู้จำนวนของตัวเลข ได้รู้เรื่องรูปทรงของเรขาคณิต
1. สามารถนำเรื่องของการอนุรักษ์ไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต
2. สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำไปให้เด็กไปลองทำได้
3. สามารถสอนเรื่องการจับคู่ขากับสัตว์ได้
4. สามารถสอนเรื่องการเรียงลำดับให้กับเด็กได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น